อย
ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.)

COMPLAINT AND ENFORCEMENT MANAGEMENT CENTER
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • แนะนำหน่วยงาน
    • โครงสร้างและอัตรากำลัง
    • ความเป็นมาและหน้าที่ความรับผิดชอบ
    • วิสัยทัศน์และค่านิยม
    • ติดต่อเรา
  • งานร้องเรียน
    • แจ้งเรื่องร้องเรียน
    • คู่มือการร้องเรียน
    • ช่องทางการร้องเรียน
    • ขั้นตอนการร้องเรียน
    • แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
    • ติดตามสถานะเรื่องร้องเรียน
    • แจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับแจ้งความนำจับ การแสวงหาข้อเท็จจริง การพิจารณาวินิจฉัย และการจ่ายเงินสินบนนำจับ
  • งานโฆษณา
    • การขออนุญาตโฆษณา
    • วิธีการรายงานโฆษณาที่ผิดกฎหมาย
    • ข้อมูลเผยแพร่
  • งานปราบปราม
    • ข่าวจับกุมดำเนินคดี
    • เผาทำลายผลิตภัณฑ์สุขภาพของกลางที่มิใช่ยาเสพติดให้โทษ
  • เตือนภัย
    • Safety Alert
    • Check Sure Share
    • ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
  • กฎหมายน่ารู้
    • กฎหมายแยกตาม พรบ.
    • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา
  • สถิติ
    • สถิติการร้องเรียน
    • สถิติการเฝ้าระวังและตรวจสอบโฆษณา
    • สถิติการปราบปราม
  • สำหรับเจ้าหน้าที่
    • สำหรับเจ้าหน้าที่ ศรป.
    • จองห้องประชุม
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • แนะนำหน่วยงาน
    • โครงสร้างและอัตรากำลัง
    • ความเป็นมาและหน้าที่ความรับผิดชอบ
    • วิสัยทัศน์และค่านิยม
    • ติดต่อเรา
  • งานร้องเรียน
    • แจ้งเรื่องร้องเรียน
    • คู่มือการร้องเรียน
    • ช่องทางการร้องเรียน
    • ขั้นตอนการร้องเรียน
    • แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
    • ติดตามสถานะเรื่องร้องเรียน
    • แจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับแจ้งความนำจับ การแสวงหาข้อเท็จจริง การพิจารณาวินิจฉัย และการจ่ายเงินสินบนนำจับ
  • งานโฆษณา
    • การขออนุญาตโฆษณา
    • วิธีการรายงานโฆษณาที่ผิดกฎหมาย
    • ข้อมูลเผยแพร่
  • งานปราบปราม
    • ข่าวจับกุมดำเนินคดี
    • เผาทำลายผลิตภัณฑ์สุขภาพของกลางที่มิใช่ยาเสพติดให้โทษ
  • เตือนภัย
    • Safety Alert
    • Check Sure Share
    • ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
  • กฎหมายน่ารู้
    • กฎหมายแยกตาม พรบ.
    • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา
  • สถิติ
    • สถิติการร้องเรียน
    • สถิติการเฝ้าระวังและตรวจสอบโฆษณา
    • สถิติการปราบปราม
  • สำหรับเจ้าหน้าที่
    • สำหรับเจ้าหน้าที่ ศรป.
    • จองห้องประชุม
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
ภาษา
EN
image assembly
การเข้าถึง
close assembly
  • ขนาดตัวอักษร
    • ก
    • ก
    • ก
  • การเว้นระยะห่าง
    • icon space 1
    • icon space 2
    • icon space 3
  • ความตัดกันของสี
    • icon color 1สีปกติ
    • icon color 2ขาวดำ
    • icon color 3ดำ-เหลือง
banner

  • หน้าแรก
  • คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย


คำถามที่พบบ่อย
  • ทั้งหมด
  • การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์ยา
  • ผลิตภัณฑ์อาหาร
  • ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
  • ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข
  • การร้องเรียนกับ อย.
  • การตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • การร้องเรียนประสงค์เงินสินบน

จะได้รับเงินสินบนก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐาน และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอันเนื่องมาจากการแจ้งความของผู้แจ้งความนำจับได้เป็นผลสำเร็จ โดยคดีนั้นถึงที่สุดแล้วและได้มาซึ่งค่าปรับ จึงจะสามารถแบ่งจำนวนเงินสินบนให้แก่ผู้แจ้งความนำจับได้ตามข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่กระทรวงการคลังกำหนดว่าด้วยการนั้น เท่านั้น

ประชาชนสามารถร้องเรียนประสงค์เงินสินบนได้ โดยเบาะแสที่สามารถแจ้งเป็นกรณีประสงค์เงินสินบนได้ หมายถึง เบาะแสหรือเค้าเงื่อนแห่งการกระทำความผิดที่เพียงพอว่า กรณีที่พบเป็นความผิดตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเฉพาะกฎหมายที่อนุญาตให้หักค่าปรับจากการกระทำผิดไว้เป็นเงินสินบน เงินรางวัล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามที่กระทรวงการคลังกำหนดเท่านั้น โดยผู้แจ้งความนำจับสามารถยื่นบันทึกการแจ้งและรับแจ้งความนำจับ พร้อมเอกสารหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง ณ ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ สำนักสาธารณสุขจังหวัด เฉพาะกรณีความผิดที่เกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่จังหวัดนั้น

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากร้านค้าออนไลน์ชื่อร้าน “Ruk Fin Fin” ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยฉลากระบุ รายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ “ZEUS PLUS DIETARY SUPPLEMENT PRODUCTผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซูส พลัส อย. 12-1-08158-5-0179 ผลิตโดย : Amata บริษัท อมตะ ไลฟ์ พลัส จำกัด (AMATA LIFE PLUS CO., LTD) 29/59 หมู่ 2 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 จัดจำหน่ายโดย : แบรนด์ ZEUS Plus (ซูส พลัส) 58/2 ม.3 ต.บิง อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา 30160 ครั้งที่ผลิต Lot No : 24030501 วันที่ผลิต MFG : 05032024 วันที่หมดอายุEXP No : 05032026”

ผลการตรวจวิเคราะห์พบยาแผนปัจจุบันซิลเดนาฟิล (Sildenafil) จัดเป็นยาควบคุมพิเศษภายใต้การ กำกับดูแลของแพทย์รวมถึงต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อเท่านั้น ใช้ในการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว หน้าแดง การมองเห็นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันในลูกตาสูง สูญเสียการได้ยิน โดยรายที่ได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเป็นอาหาร ที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ด้วย เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จึงประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว ทั้งนี้ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด

อย. เตือนภัย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร " เฟล็กซ์ซินอล (Flexinol) " เลขสารบบอาหาร 10-1-07561-5-0122 และ เลขสารบบอาหาร 13-1-12866-5-0034 อย่าหลังเชื่อ อ้างรักษาอาการปวดข้อต่าง ๆ ใช้ครั้งเดียวหายขาดตลอดชีวิต ตรวจสอบแล้วพบว่าเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์นี้ ถูกยกเลิกแล้วโดยผู้ประกอบการและเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ

ลิงก์: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2905?ref=search

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากร้านค้าออนไลน์ชื่อร้าน “ศิริ พร๊อพเพอร์ตี้ 168” ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยฉลากระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ “ศิริ แอลบาง (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) อย. 63-1-08665-5-0020 10 CAPSULES NET Wt. 6.20 g. ผู้จัดจำหน่าย/ที่อยู่ SIRI BRAND ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20180 ผู้ผลิต/ที่อยู่ผลิตชื่อ บริษัท อินทารา เฮิร์บ จำกัด อยู่เลขที่ 652 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110 LOT : 013 MFG : 08/01/2024 EXP : 08/01/2026”

ผลการตรวจวิเคราะห์พบยาแผนปัจจุบันฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาที่มีผลต่อจิตและประสาท ใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวและวิตกกังวล ซึ่งยานี้มีผลต่อปริมาณสารสื่อประสาทในสมอง จัดเป็นยาอันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย จึงเป็นอาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ด้วย เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จึงประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว ทั้งนี้ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด

ลิงก์: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2908?ref=search

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์ม LINE Official Account “Doctor Jel” ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยฉลากระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ “ฮัล์ค (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) (ตรา ด็อกเตอร์ เจล) HULX (DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT) (DR.JEL BRAND) อย. 73-1-02663-5-0014 ผลิตโดย : บริษัท ออกานิกส์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด 78/9 หมู่ 3 ต.บ่อพลับ อ.เมือง จ.นครปฐม จัดจำหน่ายโดย : บริษัท ด็อกเตอร์ เจล จำกัด 87 หมู่ที่ 2 ต.บ่อพลับ อ.เมือง จ.นครปฐม LOT.HUL005L23802 MFG.08/01/2024 EXP.07/01/2026”

ผลการตรวจวิเคราะห์พบยาแผนปัจจุบันซิลเดนาฟิล (Sildenafil) จัดเป็นยาควบคุมพิเศษภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ รวมถึงต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อเท่านั้น ใช้ในการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว หน้าแดง การมองเห็นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันในลูกตาสูง สูญเสียการได้ยิน โดยรายที่ได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเป็นอาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ด้วย เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จึงประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว ทั้งนี้ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด

ลิงก์: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2909?ref=search

อย. เตือนภัย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พิชาร์ (Pichar) เลขสารบบอาหาร 76-1-17557-5-0322 อ้างทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อย. ตรวจสอบแล้วพบว่า มีการปลอมปนไซบูทรามีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 อย่าหลงเชื่อ ซื้อมารับประทานเสี่ยงอันตรายจากผลข้างเคียง อาจทำให้เสียชีวิตได้ทั้งนี้เลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้วเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2567

ลิงก์: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2913?ref=search

ข่าวประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร อย. ตรวจพบซิลเดนาฟิล ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็กซ์ 6 พลัส X6 Plus HARD IRON DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT วันผลิต : 09/03/2024 วันหมดอายุ : 08/03/2026 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากร้านค้าออนไลน์แพลตฟอร์ม Shopee ชื่อร้าน “x6plushardiron” ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยฉลากระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ “เอ็กซ์ 6 พลัส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร X6 Plus HARD IRON DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT อย. 13-1-17565-5-0103 ผลิตโดย : บริษัท อินโนวาเฮลท์ จำกัด เลขที่ 168/11 หมู่ 1 ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 จัดจำหน่ายโดย : แบรนด์ ช่างรักษ์ เลขที่ 55/85 ถ.กิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 เลขที่ผลิต X6004 วันที่ผลิต : 09/03/2024 วันหมดอายุ : 08/03/2026”

ผลการตรวจวิเคราะห์พบยาแผนปัจจุบันซิลเดนาฟิล (Sildenafil) ซึ่งจัดเป็นยาควบคุมพิเศษภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ รวมถึงต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อเท่านั้น ใช้ในการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพสมรรถภาพทางเพศ มีผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว หน้าแดงง การมองเห็นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันในลูกตาสูง สูญเสียการได้ยิน โดยรายที่ได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเป็นอาหารที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ด้วย เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จึงประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว ทั้งนี้ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด

ลิงก์: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2914?ref=search

อย. เตือน พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอมปนยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคถึงอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรยาเกร็กคู จึงเร่งตรวจสอบโดยเก็บผลิตภัณฑ์รวม 7 รายการ จากสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน 3 แห่ง ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการวิเคราะห์พบการปลอมปนยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ “ซิลเดนาฟิลและทาดาลาฟิล” อย. จึงให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายหยุดการจำหน่ายและเรียกเก็บผลิตภัณฑ์ทั้ง 7 รายการออกจากท้องตลาด

ยากลุ่มที่ใช้รักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ “ซิลเดนาฟิลและทาดาลาฟิล” ที่พบปลอมปนจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ซึ่งต้องใช้ยาภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ เนื่องจากเป็นยาที่หากใช้ไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้สูง เช่น ปวดศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันในลูกตาสูง สูญเสียการได้ยิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับยาที่ดังกล่าวในขณะที่ใช้ยารักษาโรคประจำตัวบางประเภท อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจนอันตรายถึงชีวิตได้

ลิงก์: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2916?ref=search

ตำรวจสอบสวนกลาง(CIB) ร่วม อย. ทลายเครือข่ายแหล่งผลิตโบท็อกซ์ปลอม ส่งขายคลินิกเสริมความงามทั่วกรุง ตรวจยึดของกลางกว่า 2.6 หมื่นชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท


ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ได้ตรวจสอบเบื้องต้นจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า Neuronox เป็นยาปลอม และยังเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นมาปลอมมี Nabota, Aestex, Guna-Made, Guna -Collagen จากการตรวจค้น พบ บรรจุภัณฑ์ สติกเกอร์ และใบกำกับยา ของยี่ห้อดังกล่าวเป็นจำนวนมากรวมตรวจค้น 2 จุด ตรวจยึดของกลางทั้งหมด 90 รายการ รวมทั้งสิ้น 26,293 ชิ้น มูลค่าความเสียหาย 10,000,000 บาท, อุปกรณ์และวัตถุการผลิต จำนวน 46 รายการ, ผลิตภัณฑ์ยา เครื่องมือแพทย์ และเครื่องสำอาง จำนวน 44 รายการ


ดังนั้นควรเลือกรับบริการจากสถานพยาบาลที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้บริการ ก่อนการฉีดควรสอบถามและขอดูตัวสารที่ฉีดว่าได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายจาก อย. หรือไม่ เพราะผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์เถื่อนฉีดเข้าร่างกายนั้น อาจเกิดอันตรายจนถึงแก่เสียชีวิตตามที่เคยปรากฏเป็นข่าวมาแล้ว

ลิงก์: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2918?ref=search

1234
แสดงผล รายการ
อย
ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.)

COMPLAINT AND ENFORCEMENT MANAGEMENT CENTER

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : 88/24 ถนนติวานนท์
ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

  • Website Policy
  • Privacy Policy
  • Disclaimer

รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

Sitemap
หน้าแรก
    เกี่ยวกับเรา
    • แนะนำหน่วยงาน
    • โครงสร้างและอัตรากำลัง
    • ความเป็นมาและหน้าที่ความรับผิดชอบ
    • วิสัยทัศน์และค่านิยม
    • ติดต่อเรา
    งานร้องเรียน
    • แจ้งเรื่องร้องเรียน
    • คู่มือการร้องเรียน
    • ช่องทางการร้องเรียน
    • ขั้นตอนการร้องเรียน
    • แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
    • ติดตามสถานะเรื่องร้องเรียน
    • แจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับแจ้งความนำจับ การแสวงหาข้อเท็จจริง การพิจารณาวินิจฉัย และการจ่ายเงินสินบนนำจับ
    งานโฆษณา
    • การขออนุญาตโฆษณา
    • วิธีการรายงานโฆษณาที่ผิดกฎหมาย
    • ข้อมูลเผยแพร่
    งานปราบปราม
    • ข่าวจับกุมดำเนินคดี
    • เผาทำลายผลิตภัณฑ์สุขภาพของกลางที่มิใช่ยาเสพติดให้โทษ
    เตือนภัย
    • Safety Alert
    • Check Sure Share
    • ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
    กฎหมายน่ารู้
    • กฎหมายแยกตาม พรบ.
    • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา
    สถิติ
    • สถิติการร้องเรียน
    • สถิติการเฝ้าระวังและตรวจสอบโฆษณา
    • สถิติการปราบปราม
    สำหรับเจ้าหน้าที่
    • สำหรับเจ้าหน้าที่ ศรป.
    • จองห้องประชุม

    ผู้ชมเว็บไซต์ :

    rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
    • แบบสำรวจการให้บริการด้านข้อมูลเว็บไซต์
    • แบบสำรวจความพีงพอใจต่อเว็บไซต์
    Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

    Subscribe

    เลือกหัวข้อที่ท่านต้องการ Subscribe

    no-popup