อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. เผาทำลายผลิตภัณฑ์สุขภาพของกลางที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษ น้ำหนักกว่า 31,000 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท
22 มีนาคม 2563 ฤกษ์ดี อย. ร่วมกับ ปก.บคบ. เผาทำลายผลิตภัณฑ์สุขภาพของกลางที่มิใช่ยาเสพติดให้โทษ ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา จากผลงานกวาดล้างผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย รวม 328 คดี จึงนำผลิตภัณฑ์สุขภาพของกลางที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษที่คดีถึงที่สุดมาทำลาย น้ำหนักรวมกว่า 31,820 กิโลกรัม รวมมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดย นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) โดย พล.ต.ต. ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก. ปคบ., พ.ต.อ. สำเริง อาพรรทอง, พ.ต.อ. ศารุติ แขวงโสภา, พ.ต.อ. ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ, พ.ต.อ. ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ. เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. ร่วมกันเผาทำลายผลิตภัณฑ์สุขภาพของกลางที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษ ที่ทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ปฏิบัติการกวาดล้างร่วมกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการปราบปรามผู้กระทาความผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเข้มงวด จนสามารถจับกุมผู้ผลิต ผู้นาเข้า และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษ ไม่ว่าจะเป็นยา อาหาร เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ และมีของกลางที่ถูกยึดเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี 2557 - 2563 รวมคดีถึงที่สุดแล้ว 328 คดี จึงได้จัดให้มีการเผาทำลายของกลางดังกล่าว ในวันที่ 22 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมมูลค่าของกลางที่นำมาทำลายทั้งสิ้นกว่า 500 ล้านบาท น้ำหนักรวม 31,820 กิโลกรัม โดยมีข้อหา ดังนี้
- ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา เช่น ยาเสริมสมรรถภาพทางเพศจาพวกยา KAMAGRA, ยาหมาแดง, ยา Lipovase กลุ่มยาฉีดที่ไม่มีทะเบียน เช่น โบทอกซ์ ฟิลเลอร์ กลุ่มยารับประทาน เช่น ยาชุด ยาแก้ปวดเขียวเหลือง วิตามินที่นาเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น
- ขายเครื่องสำอางปลอม เครื่องสำอางที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง เครื่องสำอางที่ตรวจพบสารห้ามใช้ เช่น เครื่องสำอางยันฮี, ครีมวุฒิศักดิ์, ครีมพม่า, ครีมเยื้อไม้, ครีมต้อยติ่ง เป็นต้น
-ขายผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง หรือไม่มีฉลาก หรือไม่มีบรรจุภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรเถาวัลย์เปึ๋ยง, อาหารเสริมวิตามิน C, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Lady อกฟู รูฟิต, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสริม แขน ขาเรียวเล็ก เป็นต้น
พล.ต.ต. ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผู้บังคับการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกผู้ประกอบการฉวยโอกาสนำผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตหรืออาจเป็นอันตรายมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ซึ่งหากตรวจพบเจ้าหน้าที่ บก.ปคบ.จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ อย. เข้าตรวจสอบ จับกุม และดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวด และครอบคลุมทุกพื้นที่
ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. และตำรวจ บก.ปคบ. จะร่วมกันเฝ้าระวัง ปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเข้มงวด ขอให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานอย่างจริงจังของภาครัฐ หากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งเบาะแสมาที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือสายด่วน บก.ปคบ. 1135 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด