ตำรวจสอบสวนกลาง(CIB) ร่วม อย. บุกโรงงาน ทลายเครือข่ายทุนจีน ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก. ปคบ.โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว, พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., ว่าที่ พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.4 บก.ปคบ., นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลปฏิบัติ กรณีทลายเครือข่ายผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม ตรวจค้น 4 จุด ตรวจยึดของกลาง 112 รายการ รวมกว่า 90,000 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 4,000,000 บาท
พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากปัจจุบันกระแสการรักสุขภาพส่งผลให้ความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรสูงขึ้นในประชาชนทั่วไป และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยเฉพาะในกลุ่มชาวจีน โดยผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่จำหน่ายในท้องตลาดมีความหลากหลายและสามารถหาซื้อได้ง่าย จนอาจเป็นช่องว่างให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานกระจายสู่ตลาด เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีการเฝ้าระวังกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคผ่าน เพจเฟสบุ๊ค “ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค” ว่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาทิ เช่น ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรไทยสยาม ,ยาหม่องสมุนไพรไทยสยาม ตราเสือสยาม 5 เศียร และยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์ เฮิร์บ บาล์ม ตราสมุนไพรไทยสยาม จากพื้นที่เขตห้วยขวาง และพบว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์คนละแบบแต่มีเลขทะเบียนยาเดียวกัน จึงสงสัยว่าเป็นผลิตภัณฑ์ปลอม หากใช้แล้วเกรงว่าจะได้รับอันตรายต่อร่างกาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพบว่า มีการแอบอ้างนำเลขทะเบียนตำรับยาของผลิตภัณฑ์อื่นมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นการปลอมผลิตภัณฑ์จึงได้สืบสวนจนทราบถึงแหล่งผลิต โกดังเก็บสินค้า และแหล่งจัดจำหน่าย จนนำมาสู่การตรวจค้นในครั้งนี้
ต่อมาในวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นำหมายค้นเข้าทำการตรวจค้น สถานที่ผลิต โกดังเก็บสินค้า และสถานที่จำหน่าย ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ จ.ปทุมธานี จำนวน 4 จุด ดังนี้
1. สถานที่จำหน่ายย่าน ซอยเกษมสุข ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ15 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ขณะตรวจค้น พบนายจิงฉาย (สงวนนามสกุล) สัญชาติจีน เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย จำนวน 36 รายการ รวมกว่า 4,579 ชิ้น
2. สถานที่จำหน่ายย่าน ซ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 6 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พบ นางเบน (สงวนนามสกุล) สัญชาติจีน เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย จำนวน 26 รายการ รวมกว่า 12,807 ชิ้น
3. สถานที่ผลิต และโกดังเก็บสินค้า ภายในโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ หมู่ 3 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พบ น.ส.พิมพ์พิชชา (สงวนนามสกุล) เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562, เอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย, เครื่องซีลพลาสติก จำนวน 1 เครื่อง, เครื่องบรรจุ จานวน 1 เครื่อง, ฉลากผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบในการผลิต เช่น ขี้ผึ้ง สารสกัดต่าง ๆ ที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม รวม 14 รายการ จำนวน 64,900 ชิ้น
4. สถานที่ผลิต ในบ้านพักอาศัยย่าน ถนนบางบอน แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดย น.ส.พิมพ์พิชชา (สงวนนามสกุล) เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งอยู่ระหว่างการผลิตและบรรจุ รวม 4 รายการ จำนวน 853 ชิ้น และอายัดวัตถุดิบในการผลิต เช่น น้ามันหอมระเหย และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผสมแล้วรอการบรรจุ เครื่องบรรจุและหม้อต้ม รวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบที่ใช้ในการผลิต รวม 26 รายการ รวม 8,652 ชิ้น
โดยจากการตรวจค้นทั้ง 4 จุด พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นความผิด รวม 27 ยี่ห้อ ดังนี้
1. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรไทยสยาม (ปลอม)
2. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราหาญตำรับ (ปลอม)
3. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรบัวทอง (ปลอม)
4. ยาหม่องสมุนไพรไทยสยาม ตราเสือสยาม 5 เศียร (ปลอม)
5. ยาหม่องสมุนไพรไทย ตราเสือสยาม5ดาว (ปลอม)
6. ยาหม่องเสือสยาม ตราสมุนไพรบัวทอง (ปลอม)
7. ยาหม่องเสือสยาม ตราหาญตำรับ (ปลอม)
8. ยาหม่องเสือสยาม PUREสมุนไพรธรรมชาติ (ปลอม)
9. ยาหม่องสมุนไพร100ปี แซ่วู (ปลอม)
10. ยาหม่องสมุนไพร รวม5ดาว สูตรร้อน(ปลอม)
11. ยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์เฮิร์บ บาล์ม (ปลอม)
12. ยาหอมชนะลม ตราเรือใบ (ปลอม)
13. น้ำมันนวด กฤษณา ทิพย์มาตย์ ไม้หอมไทย
14. น้ำมันนวด สมุนไพรสยาม ตราหนุมานหาว5ดาว (ปลอม)
15. น้ำมันนวดผา (ปลอม)
16. น้ำมันนวดสมุนไพร Herb
17. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราสมุนไพรไทยสยาม (ปลอม)
18. น้ำมันนวดสมุนไพร สมุนไพรธรรมชาติ สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด
19. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราสมุนไพรบัวทอง สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด
20. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราหาญตำรับ สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด
21. หัวน้ำมันสมุนไพรสกัดเย็น
22. น้ำมันสมุนไพร ตราสมุนไพรบัวทอง
23. ขี้ผึ้งสมุนไพรรวม ตราเสือ (ปลอม)
24. ยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์เฮิร์บ บาล์ม (ปลอม)
25. ยาสอดกระชับช่องคลอด บริสุทธิ์ (ปลอม)
26. THONG TIGER Massage Palm ยานวดผ่อนคลาย (ปลอม)
27. ยาหอมชนะลม ตราเรือใบ (ปลอม)
รวมตรวจค้น 4 จุด ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม 38 รายการ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 จำนวน 42 รายการ เครื่องจักร รวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบที่ใช้ในการผลิตสมุนไพรปลอม และพยานหลักฐานอื่น 32 รายการ รวมทั้งสิ้น 112 รายการ มูลค่าความเสียหายกว่า 4,000,000 บาท